ดื่มน้ำอัดลมระวังกรดอันตรายที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกาย น้ำอัดลมขจัดคราบเปื้อนตามสุขภัณฑ์ได้ ใช้ล้างสนิมก็ได้ แต่ค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 3 (pH 3) เป็นอันตรายต่อร่างกายและใช้ทำความสะอาดได้จริงหรือไม่ มาทำความเข้าใจส่วนประกอบของน้ำอัดลมและรู้จักอันตรายตัวจริงที่แฝงตัวอยู่กับน้ำอัดลม เพื่อการดื่มน้ำอัดลมได้อย่างชื่นใจและปลอดภัย คำตอบโดย รศ.ดร.พลังพล คงเสรี นักวิจัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่ม “น้ำอัดลม” เป็นประจำ
1. โรคเบาหวาน และภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
อย่างที่เกริ่นไปว่า น้ำอัดลมอุดมไปด้วยน้ำตาล แต่ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งอย่างละเอียดว่า หากดื่มน้ำอัดลมกระป๋องขนาด 325 ซีซี เท่ากับคุณทานน้ำตาลเข้าไป 8-12 ก้อน หรือ 12 ช้อนชา ในขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เราทานน้ำตาลได้เพียงวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น แต่เฉลี่ยแล้วคนไทยทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากถึง 27 ช้อนชาต่อวัน และเกือบครึ่งหนึ่งมาจากน้ำอัดลมเพียงกระป๋องเดียว ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อร่างกายในการรับปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันมากเกินไป จนรบกวนการทำงานของระบบการผลิตอินซูลิน และทำให้เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา
2. ฟันผุ
น้ำอัดลมมีส่วนประกอบสำคัญคือ น้ำหวานแต่งสี และอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายลงไปในน้ำ จะทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก (Carbonic Acid) ทำให้น้ำอัดลมมีฤทธิ์เป็นกรดพอๆ กันกับน้ำส้มคั้น หรือน้ำมะนาว (pH เท่ากับ 3) ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ส่งผลให้ฟันถูกกัดกร่อนจากฤทธิ์ของกรดอ่อนๆ มากขึ้น ยิ่งน้ำอัดลมมีส่วนผสมเกือบ 1 ใน 10 ที่เป็นน้ำตาลด้วยแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าหากดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป แล้วไม่ทำความสะอาดฟันให้ดีพอ อาจมีความเสี่ยงต่ออาการฟันผุ ฟันกร่อนได้
3. โรคกระดูกพรุน
หากน้ำอัดลมที่คุณดื่มมีปริมาณของกรดฟอสฟอริก (Phosphoric) อยู่มาก หากทำให้ผู้ที่ดื่มเป็นเวลานานมี่ความเสี่ยงต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เนื่องจากกรดนี้จะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมจนทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ภาวะกระดูกบาง มวลกระดูกน้อยอย่างผู้สูงอายุ
4. โรคหัวใจ
การดื่มน้ำอัดลมเป็นปริมาณมากๆ หรือดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สูงขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระดับไขมันในหลอดเลือดหัวใจ เกิดการอักเสบ และเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความอิ่มในทางที่ไม่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
หากต้องการลดความอยากดื่มน้ำอัดลม ขอให้ค่อยๆ เปลี่ยนเครื่องดื่มโดยเลือกระดับความหวานที่น้องลงมาเรื่อยๆ เช่น จากน้ำอัดลมเป็นน้ำหวาน ชาเย็น ชาเขียว น้ำผลไม้ 100% ไปจนถึงน้ำเปล่า หากชอบความซาบซ่าของน้ำอัด ให้ลองผสมโซดากับสารแต่งรสที่ไม่มีแคลอรี่ นอกจากน้ำอัดลมแล้ว เราควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานอื่นๆ ด้วย และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า
น้ำอัดลม มีกรดที่เป็นอันตรายต่อ กระเพาะจริงหรือ มาดูความจริงกันดีกว่า